พี่น้องเอ๊ย..

วันนี้…ส่งพี่ชายไปแนวหน้า
ศรีฯคนกล้าหลบกลับมาอยู่เบื้องหลัง
สลับกันผลัดเปลี่ยนเวรเกณฑ์ไปฟัง
มวลมหาประชาชังเอ๊ย..ประชาชน
ตอนเข้ากลุ่มมันร้อนรุ่มมันคึกคัก
คนหมู่มากลุยเข้าไปไม่เคยสน
แกนนำสั่งแกนนั่งสอนวอนเสียจน
เรามวลชนต้องเชื่อฟังสั่งแล้วทำ
ปิดหน่วยนั้นตัดไฟหน่วยนี้..อิ..อิ..ซาหนุก
ยกเว้นคุกถ้าขืนบุกคงไม่ขำ
บอกแล้วงัยตรูจะไฝว้ให้คะมำ
ลุงกันนำเขาบอกว่าข้าคนดี
กลับมาบ้านมีเวลามานั่งคิด
ถูกหรือผิดดีหรือบ้าน่าบัดสี
ที่ทำไปที่ทำมาบ้าหรือดี
ใครก็ได้ช่วยตอบทีพี่น้องเอ๊ย…
พอมาติดตามข่าวข้างนอกมันสับสนอ่ะ..

อย่ารำคาญ

อยากเขียนกลอนแบบหวานๆเหมือนวันเก่า
แต่ใจเราสิตอนนี้มีเรื่องหนัก
อกหนักใจความเป็นไปบ้านเมืองนัก
เลยเรื่องรักพักไว้ก่อนในตอนนี้
คุณผู้ชมคุณผู้ฟังคุณนั่งอ่าน
อย่ารำคาญศรีประหลาดจนหน่ายหนี
ขอเวลาบิ้วอารมณ์บ่มฤดี
จนได้ที่จะเขียนกลอน…อ้อน…แฟนๆ

ผิดตลอด

ในสายตา ยาหยี ใช่พี่ผิด
ไม่เคยคิด แง่ดี สมศรีเอ๋ย
ชอบคิดเอง เออเอง เก่งจุงเบย
คนไม่เคย เสียด้วย เลยซวยไป
โอ้..แม่ศรี สุดา ผู้น่ารัก
คนรู้จัก เคยรัก ก็ผลักไส
ถูกบังคับ ให้ผิด คิดนอกใจ
จะเลือกใคร ชู้หรือเพื่อน ก็เหมือนกัน.กิงเหล้าดีกว่า
อนิจา วาสนา น้ำตาตก
มัดมือชก ดิ้นไป ทำไมฉัน
จะแข่งเรือ แข่งพาย ทำไมกัน(คนมันไม่หล่อ)
เพราะใจฉัน มันอัดอั้น แทบกลั้นตาย
(ดื่มๆๆ…เพื่อลืมเธอ)

จริงหรือไม่? สุนัขตาบอดสี

การมองเห็น  นับเป็นคุณลักษณะหนึ่งที่พบได้ในสิ่งมีชีวิตอย่างมนุษย์และสัตว์  สัตว์แต่ละชนิดนั้น  ย่อมมีความสามารถในการมองเห็นที่แตกต่างกันไปตามการดำรงชีวิต  ไม่เว้นแม้แต่  สัตว์เลี้ยงใกล้ตัวเราอย่าง “สุนัข”

มีคนเป็นจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจว่า “สุนัขตาบอดสี”  หรือบางคนก็อาจเข้าใจว่า สุนัขมองเห็นภาพเป็นสีขาวและดำเท่านั้น  แต่เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า สุนัข มองเห็นเหมือนอย่างที่คนเรามองเห็นกันหรือไม่?

ใน ความเป็นจริงแล้ว  สุนัขไม่ได้มองเห็นภาพแค่เพียงสีขาว-ดำ  สุนัขสามารถมองเห็นสีได้  แต่เป็นการมองเห็นสีได้ในระดับความถี่ที่จำกัด ซึ่งแตกต่างกันตาของคนเรานั่นเองค่ะ
การมองเห็นที่แตกต่างกันของคนและสุนัขนั้น  เนื่องมาจากความแตกต่างของโครงสร้างอวัยวะที่ใช้ในการมองเห็นที่สำคัญ  นั่นก็คือ  “ดวงตา”  ดวงตาจะมี  จอตาหรือ เรตินา ซึ่งมีเซลล์ที่ไวต่อแสงสองชนิดได้แก่  เซลล์รูปแท่ง  (rod cell)  ที่ไวต่อการรับแสงสว่าง  แต่ไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างของสีได้  และอีกชนิดหนึ่งคือ เซลล์รูปกรวย (cone cell) ซึ่งเป็นเซลล์ที่สามารถแยกแยะความแตกต่างของสีแต่ละสีได้

โดยปกติแล้ว  ตาของคนเราจะประกอบด้วย  เซลล์รูปกรวย จำนวน 3 ชุด (Trichromatism) ซึ่งในแต่ละชุดจะไวต่อแสงสีแดง  เขียว  และน้ำเงิน  แสงแต่ละสีที่กระทบจอตา จะกระตุ้นเซลล์ทั้ง 3 ชุด ให้ส่งสัญญาณไปยังสมองด้วยสัดส่วนต่างกัน  สมองจะผสมสัญญาณกลับเป็นสีต่าง ๆได้ครบเป็น การมองเห็นสีปกติ

แต่สำหรับตาของสุนัขนั้น จะประกอบด้วยเซลล์รูปกรวยรับสีเพียงแค่ 2 ชุด (Dichromatism)  ซึ่งขาดเซลล์รับแสงสีเขียว  ทำให้ไม่สามารถแยกแยะสีส้ม  แดง  เหลือง  และเขียวออกจากกันได้

 

อาหารเปลี่ยน จุลินทรีย์(ในลำไส้) เปลี่ยน

อาหารที่เรารับประทานสามารถเปลี่ยนแบคทีเรียในทางเดินอาหารได้ภายใน 24 ชั่วโมง

ในร่างกายของมนุษย์นั้นประกอบไปด้วยจุลินทรีย์มากมาย โดยเรียกจีโนมของจุลินทรีย์ทั้งหมดที่อาศัยในร่างกายของสิ่งมีชีวิตอีกชนิด หนึ่งว่า ไมโครไบโอม (Microbiome) ในร่างกายของมนุษย์มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์จุลินทรีย์จะอยู่ที่ลำไส้ใหญ่ส่วนท้ายที่เรียกว่าโคลอน

ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยจุลินทรีย์ประมาณ 10 ล้านล้านเซลล์ โดยคิดเป็น 1-3 % ของน้ำหนักตัว
ในลำไส้ของมนุษย์จะมีจุลินทรีย์ประมาณ 500 – 1,000 สายพันธุ์

อีกทั้งโลกในยุคปัจจุบัน ผู้คนต่างมีชีวิตที่เร่งรีบ มีไลฟ์สไตล์ที่ต่างกับอดีตมากมาย รวมถึงอาหารที่เปลี่ยนไป อาหารในปัจจุบันมีให้เลือกมากมายหลากหลาย แต่อาหารที่เด็กสมัยใหม่ชอบกินนั้นกลับเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันและ น้ำตาล ซึ่งการรับประทานอาหารเหล่านี้ส่งผลให้สุขภาพของเด็กยุคใหม่แย่ลง ทั้งประสบกับภาวะโรคอ้วน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 รวมถึงโรคลำไส้อักเสบ

มีงานวิจัยมากมายที่ศึกษาการเปลี่ยนแปลงจุลินทรีย์ในลำไส้ที่ส่งผลต่อสุขภาพ เช่น โรคอ้วน, ข้ออักเสบรูมาตอยด์, เบาหวานชนิดที่ 2 และ Peter Turnbaugh จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ก็เป็นหนึ่งในนั้นที่สนใจที่จะศึกษาการเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์ในลำไส้ อันเนื่องมาจากการรับประทานอาหารที่ต่างกัน โดยเขาสนใจการเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์ระหว่างผู้รับประทานมังสวิรัติหรือ ทานผักผลไม้เป็นหลัก (plant-based diet) เช่น ธัญพืช พืชตระกูลถั่ว ผัก ผลไม้  และสนใจผู้ที่รับประทานเนื้อสัตว์เป็นหลัก (animal-based diet) เช่น เนื้อวัว ไข่ และชีส ว่ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงจุลินทรีย์ในลำไส้อย่างไร

กลุ่มอาสาสมัครชาวอเมริกันที่ใช้ในการศึกษาประกอบไปด้วย เพศชาย 6 คนและเพศหญิง 4 คน มีอายุระหว่าง 21 และ 33 ปี โดยมี BMI อยู่ในช่วง 19 – 32 kg/m^2  โดยได้มีการติดตามดูพฤติกรรมการรับประทานอาหารของอาสาสมัครก่อนเป็นระยะเวลา 4 วันเพื่อดูพฤติกรรมการรับประทานอาหารปกติว่าเป็นอย่างไรและเพื่อสำรวจ จุลินทรีย์ในลำไส้ว่าก่อนรับประทานอาหารแต่ละกลุ่มมีจุลินทรีย์ใดอยู่บ้าง (basedline period) และเริ่มทานอาหารที่นักวิจัยเตรียมไว้เป็นระยะเวลา 4 วัน พร้อมทั้งบันทึกการเปลี่ยนแปลงของจุลินทรีย์ในลำไส้หลังจากรับประทานอาหารใน กลุ่มต่างๆ เทคนิคที่ใช้ในการตรวจหาชนิดของจุลินทรีย์ก็คือ 16S rRNA gene sequencing and processing  (เป็นวิธีการจำแนกสายพันธุ์ของจุลินทรีย์ โดยการหาลำดับเบสของชิ้นส่วนยีน 16S rRNA) โดยทำการตรวจหาจากอุจจาระ

credit – vcharkarn.com/varticle/58490